Considerations for Generator Room Design
- Access for Routine Servicing
- Installation Guidelines
- Typical Room Layout
- Ventilation and opening
- Major Overhaul
การออกแบบห้องเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เครื่องปั่นไฟ
Generator Room Design
หัวข้อในการพิจารณาการออกแบบห้องเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เครื่องปั่นไฟ
ขนาดห้องและตำแหน่งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าต้องสามารถเข้าไปซ่อมแซมและให้บริการเครื่องยนต์และชิ้นส่วนต่างๆ ได้สะดวกดังนี้
- เปลี่ยนฝาสูบ
- เปลี่ยนปั๊มน้ำ
- ถอดอ่างน้ำมันเครื่องยนต์
- ถอดฝาหน้าเครื่องยนต์
- เปลี่ยนสตาร์ทเตอร์มอเตอร์ และไดนาโมชาร์ท
- เปลี่ยนยางรองหรือสปริงรองแท่นเครื่อง
ห้องเครื่องและตำแหน่งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า จะต้องมีพื้นที่เพียงพอที่จะทำการบำรุงรักษาเครื่องยนต์ตามระยะได้สะดวกดังนี้
- เปลี่ยนกรองน้ำมันเครื่อง
- เปลี่ยนกรองอากาศ
- เปลี่ยนกรองน้ำมันดีเซล
- การเติมน้ำมันเครื่อง
- การถ่ายน้ำมันเครื่องเก่าออก
- การทำความสะอาดกรองท่อหายใจ
- การถอดไม้วัดระดับน้ำมันเครื่อง
- การเติมน้ำหล่อเย็นที่หม้อน้ำ และถ่ายน้ำหล่อเย็นเก่าออก
การติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ให้พิจารณารายละเอียดต่างๆ ดังนี้
- หลีกเลี่ยงการใช้ท่อพลาสติกหรือวัสดุที่ไม่เหมาะสมมาทำเป็นท่อน้ำมันเดีเซล ห้ามท่อที่มีส่วนผสมของสังกะสี หรือชุบสังกะสี รวมทั้งข้อต่อต่างๆ เพื่อปัองกันการกัดกร่อนและบางครั้งวัสดุที่ถูกกัดกร่อนละลายกับน้ำมันเข้าไปทำอันตรายเครื่องยนต์
- เดินท่อน้ำมันดีเซลให้ห่างจากท่อไอเสีย หรือบริเวณที่ร้อน
- หุ้มฉนวนท่อไอเสียที่ร้อนหลังจาก Turbo charger อย่าหุ้มฉนวนบน Turbo
- ติดตั้งถังดับเพลิงให้เพียงพอในห้องเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
- เตรียมพื้นที่ให้เพียงพอสำหรับใส่ถาดรองน้ำมันเครื่องเมื่อถึงเวลาเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง
- ประตูทางเข้าออกจะต้องใหญ่เพียงพอหากจะต้องนำเครื่องยนต์ หรือ ไดนาโมหลักออกจากห้องเครื่อง เช็คเส้นทางเข้าออกว่าจะเข้าออกอย่างไรหากต้องนำเครื่องยนต์และไดนาโมออกมาซ่อมแซม
- ติดตั้งหลอดไฟให้สว่างเพียงพอสำหรับทำการซ่อมบำรุง รวมทั้งปลั๊กไฟรอบๆ ห้องสำหรับเครื่องมือซ่อมบำรุง
- ติดตั้งคานสำหรับแขวนรอกที่ใช้ในการซ่อมบำรุง เช่นยกฝาสูบ หรือชิ้นส่วนหนักๆ ระหว่างการซ่อมบำรุง
- ตรวจดูว่ามี่พื้นที่ที่สามารถถ่ายน้ำหล่อเย็นเครื่องยนต์ทิ้งได้
- ชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหวทั้งหมดต้องมีกำบังเพื่อความปลอดภัย
ผังห้องเครื่องมาตรฐานทั่วไป มีดังนี้
- เครื่องกำเนิดไฟฟ้ามีใบพัดลมที่ดูดอากาศจากด้านหลังเครื่องยนต์และเป่าออกจากตัวเครื่องเข้าหาหม้อน้ำไปทางด้านหน้า ซึ่งแตกต่างจากเครื่องยนต์ในรถยนต์ หลักการคือการนำอากาศบริสุทธิ์ที่เย็นเข้ามาด้านหลังเพื่อระบายความร้อนจากไดนาโมและเครื่องยนต์ ให้อากาศเย็นเข้ากรองอากาศเพื่อไปใช้ในการเผาไหม้ในเครื่องยนต์ จากนั้นจึงให้อากาศเย็นที่เหลือเข้าไประบายความร้อนจากหม้อน้ำในขั้นตอนสุดท้ายก่อนปล่อยออกไปนอกห้องด้านหน้า
- อากาศร้อนหลังจากผ่านหม้อน้ำแล้วต้องมีท่อหรือปล่องนำอากาศร้อนออกนอกห้อง อย่าให้อากาศร้อนหน้าหม้อน้ำไหลวนกลับเข้ามาในห้องเครื่อง
- เครื่องยนต์ขนาดใหญ่มีท่อไอเสียที่ใหญ่ จะต้องมีจุดรับน้ำหนักจากเพดานหรือพื้นและจะต้องมีท่ออ่อนที่ให้ตัวได้ Flexible exhaust pipe เพื่อให้ตัวในขณะที่เครื่องยนต์สั่นสะเทือนในระหว่างการทำงาน กันไม่ให้ท่อที่แขวนตายตัวเสียหายจากความสั่นสะเทือน
- ท่ออากาศร้อนหน้าหม้อน้ำ ท่อน้ำมันดีเซลที่เข้าเครื่องยนต์ ท่อไอเสีย สายไฟ จะต้องช่วงที่ให้ตัวได้เพื่อกันความสะเทีอนจากตัวเครื่องกำเนิดไฟฟ้าไม่ให้ไปทำความเสียหายกับชิ้นส่วนที่ยึดติดไม่เคลื่อนที่ต่างๆ
- อากาศในห้องที่ถูกดูดเข้ากรองอากาศจะต้องมีอุณหภูมิไม่สูงกว่า 8 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับอากาศภายนอก หากสูงกว่าแสดงว่าอากาศไหลเข้าออกจากห้องเครื่องไม่เพียงพอ จะต้องทำการวัด air flow ของอากาศหน้าหม้อน้ำโดยใช้ Anemometer รวมทั้งวัดผลต่างค่าแรงดันอากาศระหว่างภายในห้องและหน้าหม้อน้ำ และเทียบกับค่าอ้างอิงจาก spec ของเครื่องยนต์รุ่นนั้น หากอากาศไหลไม่เพียงพอเนื่องจากความต้านทานการไหลของอากาศมากเกินไปอาจจะทำให้เกิด Turbulence ที่ใบพัดเครื่องยนต์ทำให้ใบพัดแตกหักเป็นอันตรายต่อคนได้
- มีถังน้ำมันเขนาดเล็ก Fuel day tank ภายในห้องเครื่องซึ่งต่อท่อน้ำมันจากถังน้ำมันขนาดใหญ๋ bulk fuel tank ภายนอกห้อง น้ำมันไหล่กลับจากเครื่องยนต์จะมีความร้อน ต้องต่อท่อไปคืนที่ bulk fuel tank เท่านั้น
- Battery สำหรับสตาร์ทจะต้องมีระบบชาร์ทอัตโนมัติเพื่อให้ battery เต็มตลอดเวลา ระบบชาร์ทอาจเป็นส่วนหนึ่งของแผงควบคุม